ทำไมต้องปิดระบบกันสั่นเมื่อใช้ขาตั้งกล้อง?

 

ทั้งผู้ผลิตกล้องและเลนส์ชั้นนำของโลกต่างก็แนะนำให้ปิดระบบช่วยลดอาการสั่นไหวของกล้องเมื่อถ่ายภาพโดยใช้ขาตั้งกล้อง แล้วทำไมเราต้องปิดมันด้วยล่ะ?

Unit

ปัจจุบันนี้ทั้งระบบกล้องและเลนส์ต่างก็มี “ระบบช่วยลดอาการสั่นไหว” ซึ่งจะช่วยให้ภาพถ่ายในสปีดชัตเตอร์ต่ำ (อาจจะเป็นเพราะปริมาณแสงน้อยหรือมีการสั่นสะเทือน) โดยการจับถือกล้องด้วยมือเปล่าได้คมชัดมากยิ่งขึ้น โดยระบบนี้จะใช้วิธีการตรวจจับอาการสั่นไหวที่เกิดขึ้นแล้วเคลื่อนไหวชุดรับภาพหรือถ่ายทอดภาพในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อชดเชยการสั่นไหวที่เกิดขึ้นนั่นเอง

ระบบช่วยลดอาการสั่นไหวนี้ก็มีทั้งชนิดที่อยู่ในตัวเลนส์ เช่น “IS” – Image Stabilizer ของ Canon, “VR” – Vibration Reduction ของ Nikon, “VC” – Vibration Compensation ของ TAMRON โดยการเคลื่อนไหวชิ้นเลนส์พิเศษภายในกระบอกเลนส์เพื่อชดเชยอาการสั่นไหวนั้น หรือชนิดที่ใช้การเคลื่อนไหวชุดเซนเซอร์รับภาพโดยตรง เช่น “SteadyShot” ของ Sony หรือ “SR” – Shake Reduction ของ Pentax เป็นต้น

VC_UNIT

แต่เมื่อมีการใช้งานกล้องหรือเลนส์ที่มีระบบดังกล่าวบนขาตั้งกล้อง ก็จะมีคำแนะนำให้ปิดระบบเหล่านั้น …เพราะอะไร?

นั่นก็เพราะเมื่ออยู่บนขาตั้งกล้อง มันจะกลับกลายเป็นตัวที่ทำให้เกิดอาการสั่นไหวขึ้นในภาพเสียเอง ซึ่งเจ้าชิ้นส่วนเหล่านี้จะสามารถเคลื่อนไหวตัวเองโดยการตรวจสอบการสั่นไหวจากภายนอก นั่นหมายความว่ามันไม่ได้ถูก “ล็อค” ให้นิ่งอยู่กับที่ และเมื่อทุกอย่างภายนอกนิ่งสนิท อาการสั่นเล็กๆ อันเกิดจากการที่มันไม่ได้ถูกล็อคอยู่กับที่ (ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเพราะคลื่นเสียงความถี่สูงหรือสัญญาณแม่เหล็กที่เกิดขึ้นในระบบเอง) ก็จะเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้มันตรวจสอบตัวเองแล้วจะยิ่งสั่นหรือเคลื่อนไหวตัวเองมากขึ้นวนซ้ำกลับไปกลับมา อาการอย่างนี้เรียกว่า “Feedback Loop” ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ

ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้ทำปุ่มหรือคำสั่งเพื่อตัด/ปิดระบบกันสั่นนี้ออกมาให้คุณเลือกใช้ในยามที่ไม่ต้องการ อย่างเช่นเมื่ออยู่บนขาตั้งกล้อง หรือเมื่อคุณวางกล้องบนอะไรก็ตามที่ทำให้มันนิ่งสนิท ไม่อย่างนั้นแทนที่ภาพจะนิ่งคมชัดก็อาจจะกลายเป็นภาพที่ “เจ้าเข้า” ไปเสียเอง

…ดังนั้นจงปิดเมื่อไม่ได้ใช้งาน โปรดจำไว้ให้ดี!

 

Comments

comments

You may also like...